สวัสดีเพื่อนๆ ชาว steemit ทุกท่านค่ะ ในช่วงเดือนพฤษภาคมเข้าฤดูฝนของเชียงใหม่ ในทุกๆ ปี จะมีประเพณีใส่ขันดอก บูชาเสาอินทขิล (เสาอินทขิล หมายถึง เสาหลักเมือง) ซึ่งจัดขึ้น ในวันที่ 11-17 เพื่อให้ประชาชนชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยว ได้มาร่วมทำบุญใส่ขันดอก เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและบ้านเมือง รวมทั้งอนุรักษ์ประเพณีให้มีอยู่ต่อไปค่ะ
ประวัติความเป็นมาของประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขิล
- เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภ่คม จนถึงเดือนมิถุนายน ของทุกปี ทางความเชื่อของคนเชียงใหม่โบราณ ได้มีการจัดงานประเพณีใส่ขันดอก อินทขิล หรือ ประเพณีเข้าเดือนแปดเดือนเก้าออก( ที่เรียกว่าเข้าเดือน 8 ออกเดือน 9 นั้น นับโดยประฏิทินล้านนนา) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ที่วัดเจดีย์หลวง ซึ่งเป็นวัดสำคัญ เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ในอดีต
- เสาอินทขิล สร้างคั้งแรกทำด้วยหิน และสร้างครั้งที่สอง ทำด้วยอิฐก่อโบกปูน จนมาถึงปัจจุบันและมีการติดลวดลายกระจกสี หลักเมืองนั้นเป็นเหมือนหลักชัยแห่งเมือง การสร้างหลักเมืองขึ้นมาเพื่อเป็นการยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในบ้านเมืองนั้นๆ ให้เกิดพลังความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของพลเมือง
- เมื่อนานเข้า ผู้คนกลับไม่รักษาคำสัตษ์ ไม่ทำการเซ่นไหว้ และทำการดูหมิ่น ต่างๆ นาๆ กุมภัณฑ์จึงนำเสาอินทขิลกลับไป ต่อมามีผู้เฒ่าลัวะคนหนึ่งที่เคยมากราบไหว้เสาอินทรขิลประจำ มาถึงและไม่เห็นเสาอินทรขิลเกิดทุกข์ร้อนและกลัวว่าจะเกิดเหตุเภตภัยต่อบ้านเมือง จึงละเพศจากฆราวาส ถือเพศตาปะขาวและรักษาศีลบำเพ็ญภาวนา อยู่บริเวณที่เคยตั้งเสาอินทขิล เป็นเวลา 3 ปี ขณะนั้นได้มีพระเถวระรูปหนึ่ง ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ในป่า จนบรรลุญาณสมาบัติ และมีญาณหยั่งรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ได้มาบอกตาปะขาวว่า บ้านเมืองจะถูกรุกย่ำยีจนล่ม เพราะไม่มีเสาหลักเมืองให้ผู้คนได้ยึดเหนี่ยวกราบไหว้บูชา อันเป็นที่มาความสามัคคีของผู้คน ตาปะขาวจึงปรึกษากับชาวเมือง และตกลงกันว่า ขอให้พระเถระเป็นสื่อติดต่อเสาอินทขิลจากอินทร์มาให้อีก
ความสำคัญประเพณีใส่ขันดอกบาเสาอินทขิล
- เดิมเสาอินทขิลประดิษฐานอยู่ที่ ณ วัดสะดือเมือง หรือวัดอิทขิลกลางเวียงเชียงใหม่ ตามตำนานกล่าวว่า เสาอินทขิลเดิมนั้นหล่อด้วยโหะ จนกระทั่งสมัยพระเจ้ากาวิละ ราวปี 2343 ได้ย้ายเสาอินทขิลไปไว้ที่วัดเจดีย์หลวง โดยบูรณประฏิสังขารเป็นเสาปูนปั้นติดกระจกสี บนเสาเป็นบุษบกประดิษฐานพระพุทธรูปร่างรำพึง และทำพิธีบวงสรวงสืบกันมา
- โดยมีความเชื่อว่า การบูชาเสาอินทขิลจะนำมาซึ่งความมั่นคง มั่งคั่ง ข้าวปลาอาหารสมบุรณ์หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ชาวเมือง และเกษตรให้ทำมาหาเลี้ยงชีพ และทำการเกษรเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ชีวิต ดังนั้น ในประเพณีบูชาเสาอินทขิลจึงได้มีการอันเชิญพระเจ้าฝนเสน่หา อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์บัลดาลให้เกิดฝนตก แห่ไปรอบเมืองเชียงใหม่ และนำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเจดีย์หลวงเพื่อให้ประชาชนได้สักการะ และสรงน้ำพระมหาหมื่นวุฑฒิญาโณ วัดหอธรรมเชียงใหม่
พิธกรรมในประเพณีบูชาเสาอินทขิล
1.พิธีบูชาเสาอินทขิล
- พิธีนี้กระทำโดยการจุดธูปเทียน บูชาอินทขิล กับรูปกุมภัณฑ์ และฤาษี ทั้งนี้เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขร่มเย็น ช่วงเวลาสำหรับทำพิธีบูชาเสาอินทขิล คือช่วงปลายเดือน 8 ต่อด้วยต้นเดือน 9 วิหารอินทขิล การบูชาอินทขิล เครื่องบูชามี ข้าวตอกดอกไม้ เทียน 8 สวย พลู 8 สวย ดอกไม้เงิน 1 ผ้าขาว 1 รำ ช่อขาว 8 ผืน มะพร้าว 2 คะแนง กล้วย 2 หวี อ้อย 2 เล่ม ข้าว 4 กวัก (กระทง) แกงส้ม แกงหวานอย่างละ 4 โภชนะอาหาร 7 อย่าง ใส่ขัยบูชา
2. พิธีใส่ขันดอก
- เป็นพิธีกระทำต่อ จากการจุดธุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ ที่ตนเตรียมมาไปวางในพานจนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ การถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อเสาอินทขิล กุมภัณฑ์ ฤาษี และพระรัตนตรัย
3.การใส่พระประจำวันเกิด
4.พิธีสรงน้ำพระเจ้าฝนเสน่หา
สำหรับโพสนี้เบนขอจบแต่เพียงเท่านี้ค่ะ
ขอบคุณสำหรับโหวต ติดตามค่ะ
Thank you.
สวัสดีค่ะคุณเบน ไม่ได้มาทักทายกันหลายวัน สบายดีนะคะ😊
สบายดีค่ะ แล้วคุณแคทล่ะคะเป็นยังไงบ้าง สบายดีหรือป่าว
พึ่งจะเคยได้ยินค่ะ
เป็นประเพณีที่คนเชียงใหม่ทำกันทุกปีค่ะ 😊
เป็นวัดที่สวยมากเลยครับ..น่าไปถ่ายรูปมากครับ📷
วัดชื่อวัดเจดีย์หลวงค่ะ วัดมีขนาดกว้างขวาง สวยงามด้วยค่ะ