---- จากที่แต้วได้เข้าไปเยี่ยมชมซุ้มนิทรรศการ ปัญหาดินเค็มของราษฎร์ แก้ด้วยปราชญ์ของพ่อ
ที่จัดแสดงภายในอาคารจตุรมุข วันงานเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2561
ได้ทำให้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องดินเค็มเพิ่มมากยิ่งขึ้นค่ะ
▶️ซึ่งนิทรรศการนี้ได้ให้ความที่รู้ที่น่าสนใจ
คือ การจัดการปัญหาดินเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ชี มูล (เมืองเพีย)
▶️โดยพื้นที่ตัวอย่างจะเป็นพื้นที่บ้านเมืองเพีย ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
---- วิธีการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของดินเค็ม ได้แก่
---- การปลูกกระถินออสเตรเลีย
---- การปลูกยูคาลิปตัส
---- การปรับรูปแปลงนาทั่วไป
---- การทำระบบระบายเกลือใต้ดินในพื้นที่ดินเค็มจัด
---- การปลูกปอกระถิน
---- เมื่อพื้นที่ได้รับการแก้ไขปัญหาดินเค็มแล้ว ก็จะเริ่มปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีความเหมาะสมต่อสภาพดิน ในเขตพื้นที่พัฒนาดินเค็มตัวอย่าง ทุ่งเมืองเพีย
พืชที่ปลูกในพื้นที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ด้วยกันค่ะ
1 ปลูกกล้วยสายพันธุ์คาเวนดิช ซึ่งเป็นกล้วยมีความทนต่อสภาพดินเค็ม
และยังมีตลาดรองรับอีกด้วย กระบวนการนี้ได้จัดทำอย่างเป็นระบบ
เริ่มจาก คัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1 ไร่/คน
จากนั้นก็จัดตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างของโครงการ และเจ้าหน้าที่จะเข้ามาให้ความรู้
กล้วยที่ปลูกในพื้นที่พัฒนาดินเค็มตัวอย่าง
---- เมื่อกล้วยออกผลผลิตครบอายุเก็บเกี่ยวก็จะตัดแล้วนำมาคัดเกรดเพื่อจำหน่าย
ให้กับบริษัทคู่สัญญา ที่ได้ทำข้อตกลงรับประกันราคาซื้อตามเกรดค่ะ
---- เกรด A ราคา 210 บาท/กล่อง
---- เกรด B ราคา 182 บาท/กล่อง
---- เกรด C ราคา 168 บาท/กล่อง
ส่วนกล้วยที่ตกเกรดเกษตรกรจะนำมาเเปรเป็นกล้วยฉาบ กล้วยตาก เพื่อจำหน่ายต่อค่ะ
ข้าวไรซ์เบอร์รี่
2 ปลูกข้าว ขาวดอกมะลิ
พันธุ์ 105 ข้าวหอมมะลิที่ได้จะนำมาทำเป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวกล้อง ชื่อ ข้าวหอมดินเค็ม บรรจุถึงสูญญากาศ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม/ถุง และฉลากที่ติดบนถุงข้าวมีคำบรรยายที่บอกถึงคุณค่าของข้าวแต่ละถุงว่า
ข้าวหอมดินเค็ม หอมกลุ่นความสุข
ข้าวหอมถุงนี้เป็นผลผลิตจากความตั้งใจของชาวนา และเป็นผลผลิตของความสำเร็จ ในการพัฒนาระบบเกษตรบนพื้นที่ดินเค็ม เป็นข้าวอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี จึงปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ
รายได้จากการขายผลผลิตข้าวที่สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นจะนำไปสู่การพัฒนา อาชีพ ครอบครัว ชุมชนในพื้นที่ดินเค็มให้เกิดความยั่งยืน เป็นข้าวหอมดินเค็ม ได้แก่ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่มีคุณภาพความหอมเหนียวนุ่มที่ปลูกในพื้นที่โครงการปลูกไม้ยืนต้น เพื่อป้องกันการเเพร่กระจายดินเค็ม เมืองเพีย หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น คุณค่าข้าวถุงนี้ จะทำให้ผู้รับอิ่มท้องและอิ่มใจ ที่ได้ร่วมกันพัฒนาชาวนาไทยของเรา
---- ทั้งกล้วและข้าวที่ปลูกจะเป็นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีในเเปลงปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค แข่งขันในตลาดยุคปัจจุบันเเละเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้ได้ราคาที่สูงขึ้นอีกด้วยค่ะ
---- แม้จะเป็นดินเค็มเมื่อได้ปรับปรุงอย่างเหมาะสม ก็สามารถปลูกพืชได้เช่นกันค่ะ
ซึ่งวิธีการปรับปรุงพื้นที่ดินเค็มเกิดจากองค์ความรู้ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ท่านต้องการแก้ไขปัญหานี้ให้กับประชาชนชาวไทยค่ะ
---- ด้วยพระอัฉริยภาพของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นนักพัฒนาดิน สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติก็ได้ประการให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลก อีกด้วยค่ะ
🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊🎊
ขอบคุณทุกกำลังใจที่มีให้กันเสมอมา
Thank you @linlada639
Very important information for farmers!!
Thank you!
ขอบคุณที่สนใจข้อมูลนี้นะคะ @kaminchan