By NGThai - December 30, 2017
เสือทัสเมเนีย หรือไทลาซีน สัตว์นักล่าหน้าตาคล้ายหมาป่าแต่มีกระเป๋าหน้าท้องสูญพันธุ์ไปหลังทศวรรษที่ 1930
คืนชีพเสือทัสมาเนียหลังสูญพันธุ์ไปแล้ว 38 ปี
ร่างของลูก เสือทัสมาเนีย (หรือเสือแทสเมเนีย) ที่ถูกเก็บรักษาไว้เมื่อ 108 ปีก่อน มีความสมบูรณ์มากพอที่นักวิทยาศาสตร์จะสามารถสกัดเอาสารพันธุกรรมออกมาได้ เพื่อใช้สำหรับการสร้างพิมพ์เขียวใหม่ให้แก่สัตว์ซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว
ข่าวดังกล่าวถูกประกาศเมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ลงในวารสาร Nature Ecology & Evolution ข้อมูลทางพันธุกรรมหรือจีโนมได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเสือทัสมาเนีย นักวิทยาศาสตร์คาดหวังว่าพวกเขาจะสามารถโคลนนิ่งจีโนมนี้ขึ้นมาใหม่ได้เพื่อคืนชีพสัตว์สายพันธุ์ดังกล่าวให้กลับมาจากความตาย
เสือทัสมาเนีย หรือไทลาซีน เป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดพอๆ กับหมาป่า พวกมันเคยมีถิ่นอาศัยอยู่ในรัฐแทสเมเนีย ของออสเตรเลีย ย้อนกลับไปเมื่อ 3,000 ปีก่อน พวกมันเผชิญกับการสูญพันธุ์บนผืนแผ่นดินใหญ่ มีเพียงกลุ่มเดียวในรัฐแทสเมเนีย ของออสเตรเลียที่รอดชีวิต จนกระทั่งเผชิญกับการคุกคามอีกครั้ง ด้วยน้ำมือของมนุษย์สมัยใหม่ เสือแทสเมเนียถูกสังหารจากความพยายามในการปกป้องฟาร์มปศุสัตว์ จนในที่สุดพวกมันก็สูญพันธุ์ไปในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20
ไทลาซีนตัวสุดท้ายตายลงที่สวนสัตว์ Hobart เมื่อปี 1936 แต่เชื่อกันว่ายังคงมีไทลาซีนที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติจนถึงปี 1940 การประกาศการสูญพันธุ์อย่างเป็นทางการของสัตว์สายพันธุ์นี้โดย ICUN เกิดขึ้นในปี 1982
ทีมนักวิจัยต้องการพิจารณาจีโนมของมันเพื่อเข้าใจว่าเหตุใดสัตว์นักล่าที่มีกระเป๋าหน้าท้องตัวนี้จึงวิวัฒนาการตนเองให้มีรูปลักษณ์คล้ายกับหมาป่า เดิมทีสัตว์ทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกันนี้มีบรรพบรุษร่วมกันเมื่อ 160 ล้านปีก่อน ก่อนที่จะแยกสายวิวัฒนาการไปตามเส้นทางของตนเอง
“ไทลาซีนและหมาป่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการที่มาบรรจบกันระหว่างสองสายพันธุ์” Andrew Pask หัวหน้าการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าว เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลของจีโนมของสุนัขและสายพันธุ์ญาติของพวกมัน ข้อมูลจากจีโนมของสัตว์ที่สูญพันธู์ไปแล้วจะช่วยให้พวกเขาพบความคล้ายคลึงกันของสองสายพันธุ์ เพื่อหาโมเดลการวิวัฒนาการ
“หากสัตว์สองสายพันธุ์ปรับตัวจนมีหน้าตาคล้ายกัน สิ่งนี้น่าจะปรากฏในระดับดีเอ็นเอด้วยเช่นกัน” เขากล่าว
ในปี 2008 Pask และทีมวิจัยสกัดเอาจีโนมออกมาจากสัตว์สูญพันธุ์ไปแล้วนี้และถ่ายเทเข้าสู่สัตว์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ พวกเขาใส่ดีเอ็นเอที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนากระดูกและกระดูกอ่อนของไทลาซีนลงไปยังเอ็มบริโอของหนู ในเวลานั้นดีเอ็นเอที่พวกเขาใส่เข้าไปถูกย่อยสลายอย่างรวดเร็ว จากตัวอย่างของไทลาซีน 750 ตัวอย่างที่ได้จากการรวบรวมโดยพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่เป็นขนหรือชิ้นกระดูกที่มีดีเอ็นเออยู่เพียงน้อยนิด แต่ซากของลูกไทลาซีนจำนวน 13 ตัวที่ได้จากกระเป๋าหน้าท้องของแม่ๆ มัน หนึ่งในนั้นมีจีโนมที่มีความสมบูรณ์เป็นอย่างดี
เมื่อเปรียบเทียบกับจีโนม ทีมนักวิจัยพบว่าสัตว์ทั้งสองสายพันธุ์วิวัฒนาการแตกต่างกันอย่างเป็นอิสระ แม้ว่าพวกมันจะมีรูปลักษณ์และพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันก็ตาม
นอกจากนั้นทีมนักวิจัยยังได้ค้นพบสิ่งใหม่ พวกเขาพบว่าความหลากหลายในจีโนมของไทลาซีนปรับตัวลดลงเมื่อราว 70,000 – 120,000 ปีก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่คาดคิดเพราะก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เคยคิดไว้ว่าความหลากหลายของสายพันธุ์พวกมันเพิ่งจะปรับตัวลดลงเมื่อเร็วๆ นี้
“เราคิดมาตลอดว่าไทลาซีนมีวิวัฒนาการของมันเองหลังพวกมันแยกตัวออกมาเป็นสายพันธุ์โดดเดี่ยวเดียวในแทสเมเนียเมื่อแผ่นดินเชื่อมระหว่างออสเตรเลียและทวีปใหญ่ถูกน้ำทะเลท่วมเมื่อราว 10,000 – 15,000 ปีก่อน” Pask กล่าว
ตรงกันข้ามพวกเขาเชื่อว่าปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพวกมันคือการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ในตอนนั้น ผลการวิจัยชี้ว่าไทลาซีนเดินทางมาถึงออสเตรเลียก่อนที่ชาวอะบอริจินจะมาถึงเมื่อราว 65,000 ปีก่อน
ไทลาซีนสูญพันธู์จากการล่าโดยมนุษย์ ด้านผู้เชี่ยวชาญคาดหวังว่าจีโนมชุดใหม่นี้จะเป็นเครื่องมือช่วยคืนชีพให้สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
“ท่ามกลางการสูญพันธุ์ที่เกิดขึ้นเมื่อผ่านๆ มา ไทลาซีนคือความผิดที่เราไม่อาจปฏิเสธได้ ดังนั้นไทลาซีนน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีพอๆ กับนกพิราบพาสเซนเจอร์หากจะเลือกฟื้นคืนชีพพวกมันขึ้นมา” Ross Barnett นักชีววิทยาสาขาวิวัฒนาการและผู้เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอโบราณจากมหาวิทยาลัยเดอรัม ในสหราชอาณาจักรกล่าว
Mike Archer นักบรรพชีวินวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการชุบชีวิตสัตว์สูญพันธุ์จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ในนครซิดนีย์ ผู้นำการบุกเบิกโปรเจคโคลนนิ่งไทลาซีนในช่วงต้นปี 2000 และ 2013 หลังความสำเร็จของการโคลนนิ่งเอ็มบริโอกบกบแกสติก บรูดดิ้ง กล่าวว่า “มีงานที่ต้องทำมากมายในเส้นทางของการคืนชีพนี้ แต่ผมคิดว่า ทีมของ Pask ได้แสดงให้เห็นแล้ว่าสิ่งที่เราเคยคิดไว้เมื่อ 20 ปีก่อนว่ามันเป็นไปไม่ได้ ทุกวันนี้มันมีความเป็นไปได้เพิ่มมากขึ้น”
ด้าน Pask เองเชื่อว่าเขาสามารถที่จะนำไทลาซีนกลับมาได้ “การทำให้จีโนมทั้งหมดทำงานได้ เป็นงานตรงข้ามกับการลำดับจีโนม และเป็นอุปสรรคใหญ่ที่เราต้องข้ามไปให้ได้” กระนั้นก็ตาม Pask คาดหวังว่าในวันหนึ่งตัวเขาจะได้พบกับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องที่เป็นญาติกับมัน หลังไขปริศนาความแตกต่างระหว่างจีโนมได้แล้ว พวกเขาก็จะสามารถแก้ไขจีโนมเหล่านี้ เพื่อสร้างไทลาซีนขึ้นมาใหม่อีกครั้งได้
“น่าจะใช้เวลาอย่างน้อยสิบปี กว่าเราจะมีเทคโนโลยีดีพอที่จะช่วยคืนชีพให้สัตว์สูญพันธุ์ได้” เขาคาดการณ์เวลา “แต่จะว่าไปเราไม่มีทางรู้เลยว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปได้เร็วแค่ไหน”
เรื่องจอห์น พิคเรล
Hi! I am a robot. I just upvoted you! I found similar content that readers might be interested in:
http://ngthai.com/animals/6476/tasmanian-tiger-genome/
อ่านจบคิดถึงพระพุทธเจ้าคะ😀😀
ทำไมหรอครับ
Congratulations! This post has been upvoted from the communal account, @minnowsupport, by Nattapong from the Minnow Support Project. It's a witness project run by aggroed, ausbitbank, teamsteem, theprophet0, someguy123, neoxian, followbtcnews, and netuoso. The goal is to help Steemit grow by supporting Minnows. Please find us at the Peace, Abundance, and Liberty Network (PALnet) Discord Channel. It's a completely public and open space to all members of the Steemit community who voluntarily choose to be there.
If you would like to delegate to the Minnow Support Project you can do so by clicking on the following links: 50SP, 100SP, 250SP, 500SP, 1000SP, 5000SP.
Be sure to leave at least 50SP undelegated on your account.