ตลาดนัดกระบือ FLEA MARKET-BUFFALO [UTHAITHANI THAILAND]

in #thai7 years ago

C46F346F-E375-4ECF-93DA-D927361D79C2.jpeg
สวัสดีครับพี่น้องชาว steemit วันนี้ผมมีโอกาสได้ไปทำงานที่ตลาดนัดทัพทัน ซึ่งเป็นตลาดนัดค้าโค-กระบือที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคำขวัญประจำจังหวัดว่า
" อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก
มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ " ครับ
7EAF1FE2-80D8-41F7-9905-5F60575FFC36.jpeg
ตลาดนัด โค-กระบือ บ้านหนองหญ้าปล้อง ได้ชื่อว่าเป็นตลาดนัดโค- กระบือ ที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเชื่อกันว่าใหญ่ที่สุดในเอเซียเมื่อหลายปีก่อน เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510 โดยสองชาวนาสามี ภรรยา นายเกษม นางแป้งร่ำ พลีขันธ์ (บุญเกิด) บนเนื้อที่ป่าละเมาะในพื้นที่นาของตนเอง ที่บ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอทัพทัน อยู่ห่างจากถนนสายทัพทัน - โกรกพระ ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ โดยเริ่มจากการ ที่ชาวบ้านเอาควายโกงมาแลกกัน ใครตาดีได้ ตาร้ายเสีย(ควายโกง หมายถึง ควายที่เกเร ทำงาน ไถนา คราดนาไม่ได้) เจ้าของไม่ต้องการแล้วก็จะมาขอแลกเอาควายตัวอื่นไปใช้งาน แทน และ "แปะเงิน" ให้กับ เจ้าของสถานที่ขอเก็บ "ค่าสนาม" หรือค่าหลัก" ตัวละ 1 บาท ปัจจุบันปรับเป็นราคา 10 บาทแล้ว โดยกำหนดวันนัด คือ ทุกวันพระ เพราะ ชาวนาจะหยุดใช้แรงงานสัตว์ในวันพระ
B70D790D-03A9-44ED-A136-4F379B81E451.jpeg
เมื่อผู้ขายเดินทางมาถึงบริเวณตลาดนัด ก็จะจูงควายเข้าไปที่เสาหลัก ตามที่เจ้าของตลาดนัดได้จัดสรรไว้ให้ และระหว่างนั้นก็จะมีการเจรจาต่อรองราคากระบือกัน หากเกิดความพอใจทั้งสองฝ่าย การซื้อขายก็จะเกิดขึ้นครับ โดยวิธีการซื้อขายควายที่นี่ เจ้าของจะจูงควายไปร้องขายตรงต่อพ่อค้า ส่วนคนซื้อก็จะเดินดูจนพอใจจึงต่อรองราคา เมื่อตกลงจะซื้อจะขายได้แล้วก็จะพ่นสีทำสัญลักษณ์ที่ตัวควาย เจ้าของตลาดก็จะออกตั๋วซื้อขายให้ จากนั้นก็จะจ่ายเงิน ผู้ซื้อจึงจะสามารถต้อนขึ้นรถกลับ ด้วยวิธีนี้ที่ผ่านมาผู้ซื้อ-ผู้ขายในตลาดควายแห่งนี้บอกว่าไม่เคยเกิดปัญหาแต่อย่างใด
9A0786C1-8BA1-451D-924C-1F4A36F02BF1.jpeg
ในการจะปล่อยกระบือที่มีการซื้อขายออกจากตลาดนัด จะมีสัตวแพทย์ประจำพื้นที่ทำการตรวจโรคติดต่อก่อน จากการสอบถามทราบว่า ตลาดนัดแห่งนี้มีการควบคุมโรคตั้งแต่ก่อนนำสัตว์เข้า จนถึง นำสัตว์ออก ทั้งนี้เพื่อป้องกันการระบาดของโรคสัตว์
3E29F33D-1550-44EC-8EFD-9741BD8047EA.jpeg
เมื่อสัตว์ปลอดโรคระบาด หรือตรวจไม่พบวิการของโรคติดต่อแล้ว ผู้ซื้อและผู้ขายจะไปชำระเงินกันที่เจ้าของตลาดนัดเพื่อทำการออกหลักฐานการซื้อขายจากเจ้าของตลาดนัดควาย ทั้งตั๋วซื้อขาย ที่คิดค่าบริการ 10 บาทต่อตัว และใบเสร็จค่าหลักหรือค่าธรรมเนียมของตลาดซึ่งคิดอัตรา 10 บาทต่อตัว ปัจจุบันมีชาวบ้าน พ่อค้า แม่ค้าจากทั่วสารทิศ ทั้งใน จังหวัดอุทัยธานีและจากจังหวัดต่างๆ จากภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง นำวัวควายมา ซื้อขายกัน การซื้อขายนี้จะใช้เงินสดเพียงอย่างเดียว ในวันนั้นๆ จะมีเงินหมุนเวียนเป็นล้านๆ บาท
ขอขอบคุณ steemit ที่มีพื้นที่ให้เราได้แชร์เรื่องราว

และ...ขอขอบคุณเพื่อนๆ ชาว steemit ทุกคน ที่คอยให้กำลังใจ ติดตาม และชื่นชอบขอบคุณมากครับ

**ฝากติดตามด้วยนะครับ FOLLOW ME @Neoleohuck ...THANK YOU 🙂

Sort:  

สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับนะคะคุณ @neoleohuck

ยินดีที่ได้รู้จักและเป็นส่วนหนึ่งของ steemit ขอบคุณครับ

เจอแล้ว มุ่ย เก่งมากๆ ยินดีต้อนรับ สู่ steemit นะ

ขอบคุณครับพี่กุ้ง ยังต้องให้พี่สอนและดูแลน้องอีกเยอะเลยครับ

Welcome, khun @neoleohuck to Steem Thai Community. We are very happy to meet you. If you need help, please feel free to contact us @thaiteam, @tookta, @julee and me. We are here to help new users to understand Steem platform and also to start earning some Steem. You are now part of a very lovely community and meet many new friends. Welcome :)

Thanks steemit very much. And part of the lovely team.

นึกถึงบรรยากาศเลยครับ

อบคุณครับ ถ้ามีโอกาสเรียนเชิญมาเที่ยวชมได้ครับ

ครับผม😀

โพสของคุณถูกค้นพบโดย @livesustainably

@Livesustainably จะสนับสนุนและส่งเสริมโพสที่ให้ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอยู่อย่างพอเพียง

ณ​ ตอนนี้ เนื่องจากเป็นแท็กน้องใหม่ เรากำลังเพิ่มชุมชนหรือกลุ่มคนที่เห็นถึงความสำคัญของการอยู่อย่างพอเพียง

ดังนั้นเรามาช่วยกันรณนรงค์ด้วยการเพิ่มแท็ก #livesustainably ในโพสของคุณ แม้เป็นเพียงจุดเล็กๆ ก็สามารถส่งต่อไอเดียให้กับผู้อื่นได้ด้วย จากนั้นคุณก็จะได้รับการอัพโหวตจากเราและรวบรวม คัดสรรคอนเทนต์จากแหล่งต่างๆ นำมาเผยแพร่อีกครั้ง

ถ้าสนใจในรายละเอียดสามารถดูได้จากลิงค์ด้านล่าง

introductory post

ขอบคุณมากครับ

✱ยินดีอย่างยิ่งค่ะ อยากให้เราได้อยู่กับธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและรณรงค์ให้ใช้อย่างถูกต้องเพื่อความยั่งยืนค่ะ ✱