เคยเป็นไหมอาการผิดปกติหรือเปล่า??

in #thai7 years ago

images (2).png
จะมีคนว่าแอมผิดปกติหรือเปล่านะ หลังจากทำงานมาเหนื่อยๆ แล้วเวลานอน มักจะนอนกรน...😅😅😅การนอนกรนเกิดจากอะไรนะ? ผิดปกติหรือเปล่า....เป็นอันตรายต่อสุขภาพไหม....
วันนี้แอมก็ไปค้นหาคำตอบมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ทราบกัน....
##การนอนกรน## (Snoring) คือภาวะที่มีเสียงแหบ ๆ หรือเสียงผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างหายใจในขณะนอนหลับ เกิดขึ้นจากการถูกปิดกั้นของทางเดินหายใจบางส่วน และจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย การนอนกรนที่มีอาการไม่รุนแรงสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น นอนตะแคง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน โดยการนอนกรนส่งผลต่อทั้งสุขภาพของผู้ที่นอนกรนเองและรบกวนบุคคลที่นอนข้าง ๆ นอนกรนพบได้มากในเพศชาย และจะมีอาการหนักขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น(แฟนแอมประจำ จนบางครั้งต้องเขย่าตัวถึงจะรู้สึก)...😅
images (24).jpeg
ส่วนอาการนอนกรน
นอนกรนนั้น มักเกิดขึ้นในช่วงของการหลับลึกและจะกรนดังมากขึ้นเมื่ออยู่ในท่านอนหงาย โดยมีเสียงเกิดขึ้นที่บริเวณลำคอระหว่างหายใจเข้าในขณะนอนหลับ พบได้ในเพศชายมากกว่าในเพศหญิง ส่วนมากผู้ที่นอนกรนมักเกิดอาการร่วมกันระหว่างทางเดินหายใจถูกปิดกั้นและอวัยวะภายในลำคอสั่น เสียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดการสั่น เช่น หากเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณด้านหลังของโพรงจมูกสั่นจะทำให้เกิดเสียงขึ้นจมูก หรือหากเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นจะทำให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นในลำคอ บางครั้งแอมก็รู้สึกตัวนะว่าตัวเองนอนกรน..... แต่บางครั้ง หรือเหนื่อยมากๆไม่ค่อยรู้สึกตัวเท่าไหร่

ความรุนแรงของการนอนกรน แบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
images (27).jpeg
ความรุนแรงระดับ 1
คือการนอนกรนทั่วไป ไม่บ่อย และมีเสียงไม่ดังมาก การนอนกรนในระดับนี้ยังไม่ส่งผลต่อการหายใจในขณะนอนหลับ แต่อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของบุคคลที่นอนข้าง ๆ
images (25).jpeg
ความรุนแรงระดับ 2
คือการนอนกรนที่เกิดขึ้นบ่อย หรือมากกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ การนอนกรนในระดับนี้อาจส่งผลต่อการหายใจในระดับน้อยถึงปานกลางในขณะนอนหลับ และส่งผลให้รู้สึกง่วงและเหนื่อยในเวลากลางวัน
images (26).jpeg
ความรุนแรงระดับ 3

คือการนอนกรนเป็นประจำทุกวันและมีเสียงดัง การนอนกรนในระดับนี้มักเกิดภาวะหยุดหายในขณะหลับร่วมด้วย อาจทำให้ทางเดินหายใจถูกปิดกั้นบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นเวลาประมาณ 10 วินาที ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การป้องกันนอนกรน
นอนกรนในระดับที่ไม่รุนแรงสามารถบรรเทาและป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้
images (28).jpeg

ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จะช่วยให้การนอนกรนลดลงได้
นอนตะแคง การนอนหงายเพิ่มโอกาสให้ลิ้นไปปิดกั้นทางเดินหายใจ วิธีแก้ ลองเย็บกระเป๋าเล็ก ๆ ที่ด้านหลังเสื้อนอน แล้วใส่ลูกเทนนิสลงไป หากกังวลว่าจะกลับมานอนหงายในระหว่างการนอนหลับ
นอนหมอนสูง โดยใช้หมอนรองให้ศีรษะสูงขึ้นประมาน 4 นิ้ว
ใช้แผ่นแปะจมูกหรือตัวถ่างจมูกในขณะนอนหลับ จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทางเดินหายใจในจมูก ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
ลดการปิดกั้นของทางเดินหายใจในจมูก ในผู้ป่วยภูมิแพ้หรือผนังกั้นช่องจมูกคดจะหายใจทางจมูกไม่สะดวกจึงต้องหายใจทางปาก ทำให้เพิ่มโอกาสในการนอนกรนได้มากขึ้น
ลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาระงับประสาท เพื่อลดโอกาสที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวและปิดกั้นทางเดินหายใจ
เลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุให้คัดจมูก และหายใจไม่สะดวก
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เด็กก่อนวัยเรียนควรนอนประมาณ 11-12 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในวัยเรียนควรนอนอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่นควรนอนประมาณ 9-10 ชั่วโมงต่อวัน และผู้ใหญ่ควรนอนอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน
IMG_25610205_074303.jpg

Sort:  

:-)

ลูกชายพี่ คงอยู่ลำดับที่ 3 เพราะกรนดังมาก น้ำหนักตัวเยอะค่ะ

ลุกคนเล็กแอมก็เปน

ดีนะที่ทิพย์ไม่นอนกรน ขอบคุณที่มาแบ่งปันค่า

แอมเป็น😅😂