ก่อนที่จะเอาข้าวเหนียวมาจ้ำ...(อุ๊บบ..มือลั่น) ก่อนที่จะเอาข้าวเหนียวมาจิ้ม เรามาทำความรู้จักกับมดกันก่อนดีกว่าไหม...บางคนเคยแต่ทานแต่ไม่ทราบว่ามันมายังไง... เอ่าๆๆๆว่าแล้วขอแนะนำกันหน่อย
ชื่อภาษาไทย มดแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oecophylla smaragdina Fabricius
ชื่อสามัญ Red Ant, Green Tree Ant
อันดับ Hymenoptera
วงศ์ Formicidae
มดที่พบและรายงานบันทึกแล้ว ในประเทศไทยมี 247 ชนิดใน 9 วงศ์ย่อย
แต่มดชนิดนี้ โด่งดังรู้จักกันถ้วนหน้า ส่วนหนึ่งมาจาก รสนิยมการกิน "แมลง"
ของพี่น้องบ้านเรา "อีซาเนีย" คือ อีสานบ้านหมู่เฮา นี่หละ
ไข่มดแดง" คือ อาหารชั้นสูง.... เอ่อ..คือ:-P ไม่ใช่ระดับภัตคาร หรือว่า อาหารระดับห้าดาวนะคะ... คือว่ามดแดงมักสร้างรังอยู่บนยอดไม้ บางกลุ่มนะขอเรียกเป็นกลุ่มละกัน มันเยอะไม่รู้จะเรียกว่ายังไง บางกลุ่มสร้างรังเกือบๆปลายต้นไม้นู้นน...
มันเคยเห็นใจคนไปแหย่บางไหม?.. และมดจะมี
ซึ่งมีเพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้น มดส่วนใหญ่ ทำรังบนดิน , ใต้ดิน และโพรงไม้
มดแดง เป็นสัตว์ที่ประสบผลสำเร็จในด้านการปกครอง
เหนือชั้นกว่าทุกลัทธิ ทุกระบอบ ที่ปัญญาของมนุษย์คิดค้นขึ้นมาใช้ในโลกา
มดแดงในรังไม่ต้องมีหัวหน้าคอยสั่งการ ไม่เอาเปรียบกัน ต่างทุ่มเทเสียสละทำงาน
ทำตามหน้าที่ของตนไม่เกี่ยงงอน ไม่อิจฉาริษยา ไม่รังแกทำร้ายกัน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน
ไม่ต้องมีศาลหรือ ออกกฎหมายปกครอง บ้านเมืองของมดแดง ก็สงบสุข ต่างเสียสละ
เพื่อรังของมัน ที่ยึดมั่นคือ" ความสามัคคี" นั่นคือเหตุผลที่มี อยู่รอดมาได้
เป็นเวลา 30 ล้านปี ก่อนจะปรากฏ มนุษย์ผู้เลิศด้วยปัญญา
มดแดง คือมดที่ วิวัฒนาการขั้นสูงสุดในบรรดามดทั้งมวล
ทั้งด้านกลยุทธ การปกครอง จริยธรรม ขาดอย่างเดียว คือ ปัญญาประดิษฐ์
นั่นเพราะสัจธรรม ธรรมชาติใด ๆ ทั้งปวง ล้วนไม่สมบูรณ์แบบ
มดแดง มีลำตัวสีแดง บางครั้ง "แม่เป้ง" (นางพญา) ก็มีสีเขียว แต่โดยทั่วไปนั้น
มีขนาดลำตัว 9 - 11 มม. มีรูปร่างยาวเรียว เอวคอดกิ่ว ปากเป็นแบบปากกัด ไม่มีเหล็กไนนะคะ
รูปร่างยาวเรียว เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสีแดงส้ม บางแห่ง อาจมีสีเขียว อันนี้เวลาเอาไปคั่วเกลืออร่อยมากๆ
ภายในตัวมดงาน ( อีสานเรียกว่า มดส้ม) จะมีกรด ฟอร์มิค ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน แสบร้อน
มันเอาไว้ป้องกันตัว และล่าเหยื่อ ทดแทนการไม่มีเหล็กไน
มันเป็นนักสงครามเคมีขั้นเทพ
ใครอยากไปแหย่ไข่มดแดงคือต้องมิดชิดนะคะ ใส่กางเกงขาสั้น หรือแขนสั้นไปรับรองมันได้แหย่ไข่คุณคืนแน่....B-)
นักวิจัยจากสถาบันแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมัน วิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา สกัดเอาไฮโดรเจน
จากกรดมด (Formic acid, HCOOH) โดยไม่ต้องอาศัยอุณหภูมิที่สูงในการแยกเอาไฮโดรเจนออกมา
ซึ่งจำเป็นในการแยกไฮโดรเจนในปฏิกิริยาอื่น และสามารถนำไปใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง
นักวิจัยได้พัฒนาวิธีแยกไฮโดรเจนจากกรดมดโดย ในสภาวะที่ปรากฏ เอมีน(เช่น N,N-dimethylhexylamine)
และตัวเร่งที่เหมาะสม (เช่นตัวเร่งที่ขายตัวไป ruthenium phosphine complex [RuCl2(PPH3)2])
กรดมด จะถูกเปลี่ยนไปเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนในทันที (HCOOH = H2 + CO2)
การเร่งที่ง่าย ๆ โดยใช้ตัวถ่าน Charcoal เป็นตัวกรองจับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ซึ่งทำให้ไฮโดรเจน
ที่ออกมามีความบริสุทธิ์จนใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงได้
น่าน....เริ่มฉลาดขึ้นมาล่ะ....
ไม่แน่ในอนาคต เชื้อเพลิงบริสุทธิ์ ที่ใช้เติมยานพาหนะล้ำสมัย อาจมาจาก "ฮังมดแดง" พะนะ
มดแดงแต่ละประเภทในรังของมัน
- มดนางพญา (ราชินีมด ) มีลำตัวยาว 15 มม. มีสีชมพู หรือสีเขียวอ่อนจางๆ ท้องใหญ่
คือผู้ให้กำเนิดอาณาจักร มีหน้าที่ออกไข่ รับข่าวสารจากมดงาน ประมวลผลว่า
จะออกไข่ชนิดใด กำหนดจำนวนและชนิดของประชากรในรัง ให้เหมาะกับแต่ละฤดูกาล - มดนาง ในภาษาอีสาน คือมดตัวเมีย ซึ่งจะทำหน้าที่สืบพันธุ์ เตรียมตัวเป็น
นางพญามด ในวันข้างหน้า มีลักษณะเหมือนกับ มดนางพญา แต่มีปีก อาจมีสีแดง
สีชมพู หรือสีเขียว ก้นใหญ่อวบอิ่ม อาจมีเฉพาะฤดูกาลผสมพันธุ์ ห้วงเดือน เม.ย.-พ.ค. - มดตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าบรรดามดในรั้งทั้งหมด มีขนาด 6- 8 มม .ลำตัวเรียวเล็ก
มีสีน้ำตาลแก่ แดง จนถึงสีดำ มีปีกเหมือน แม่เป้ง (มดนาง) มีหน้าที่บินไปผสมพันธุ์กับ
มดนางแม่เป้ง เมื่อฤดูผสมพันธุ์ มาถึง มักจะมีเฉพาะฤดูกาล - มดงาน คือมดแดง ที่เราเห็นกันบ่อยๆ มีหน้าที่หาอาหาร สร้างรัง สะสมเสบียง
เลี้ยงดูสมาชิกอื่นในรัง ทำหน้าที่ทหารเมื่อรังถูกคุกคาม เรียกได้ว่าเป็น เครื่องจักรสีแดง
ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่ออาณาจักรอย่างแท้จริง - มดทาส หรือ มดสายลับ คือ มดชนิดอื่น ๆ ภายในรังของมดแดง เช่น มดดำตะลาน มดดำขน
มดดำฉุน เกิดจากการ ขโมยไข่มดชนิดอื่นมาเลี้ยงในรัง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาพฤติกรรม
และปลอมตัวเข้าไปล้วงความลับ ของแหล่งอาหารในมดต่างชนิด อีกทั้งมดแดงนั้น
ไม่มีมีสัญชาตญาณในการทำนายสภาพอากาศ จึงอาศัยมดต่างชนิด ที่มีความสามารถด้านนี้
ช่วยในการทำหน้าที่เป็น "กรมอุตุนิยมวิทยา"
คนอีสานกินไข่มดแดง เป็นอาหารมาตั้งแต่ โคลัมบัส ยังไม่เกิด เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยม
ก่อนนี้ 30 ปี ยังเป็นแค่อาหารของ ผู้ใช้แรงงาน อาหารบ้านนอก ผู้ด้อยโอกาส
เมื่อยุค แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4 มาถึง การอพยพแรงงานจากภาคอีสาน ได้ตะลุย
บุกที่ถิ่นที่ แม้กระทั่งเป็นแม่บ้านฝรั่งดังโม ได้นำเอาเทคนิคการกินไข่มดแดงเผยแพร่
หาแหย่ หาซั๊วรังมดแดง มาทำเป็นอาหารหลากหลาย จนกลายเป็น อาหารภัตตาคาร
ปัจจุบันไข่มดแดง เป็นสินค้าเศรษฐกิจ ที่สร้างได้งามแก่ผู้คิดดัดแปลงเพาะเลี้ยง
เพราะสภาพป่าโคก ป่าท้องถิ่น ถูกแนวคิด "พัฒนาเหี้ยนเต้" ครอบงำ
จนพี่น้องชาวอีสานเข้าถึงมดแดงได้ยากขึ้น จำนวนลดลง ตามสภาพป่าโคกอีสาน
ในอนาคตอาจมี ไข่มดแดงอัดกระป๋อง เป็นสินค้าส่งออก สร้างรายได้ให้ประเทศ
ในอนาคตอีก อาจใช้แมลงชนิดนี้ในการ ผลิตเชื้อเพลิงบริสุทธิ์ เติมยานพาหนะ
ใครจะไปรู้ถึงตอนนั้น "มดแดง " อาจเป็นผู้ครองโลกแทนเราก็ได้ เหงี่ยม..สัมพัสได้....
หยุ่ม..เล็กๆนี้ 50บาทนะจ๊ะ(ใบไม้เล็กๆ) ราคาแพงใช่เล่นน๊า...
ปัจจุบันเราสามาถนำไข่มดแดงมาปรุงเพิ่มกับอาหารอื่นๆเช่นแกงหน่อไม้, แกงผักหวานก็ดูน่ารับประทานเช่นกัน
[10600570_1011946135559013_3236738910783269061_n.jpg]
พูดแล้ว ญาตๆร้องจ๊อกๆๆๆ หิวข้าว... ปันข้าวเหนี่ยวคำใหญ่ๆจิ้มกับยำไข่มดแดงดีกว่า....
ขอบคุนที่เข้ามาอ่านเด้อค่ะ
สำหรับบางท่านหรือคนต่างชาติ นึกในใจทำไมไม่พิมพ์ภาษาอังกฤษมาด้วยนะ...
คือต้องบอกก่อน ขนาดภาษาไทยดิฉันยังไม่ไม่รอด :-Dให้เขียนภาษาอังกฤษโพสนี้ก็คงจะราวๆปีหน้าถึงจะได้อ่าน...คุณเพื่อนต่างชาติที่เข้ามาอ่าน ไม่ออก ดูภาพแล้วจินตนาการเอานะคะ:^)B-)
ต้องขออภัย เหงี่ยมไม่เก่งภาษาอังกฤษ
ขำๆ....พอหอมปากหอมคอ
ขอบคุณsteemit
ให้พร่ามความฮ่าคะ
Wow!
ไข่มดแดง ยำๆ ขอบคุณข้อมูล บทความดีๆ ด้วยครับ
แต่... ภาพ มดแดงรวมพลังเอื้อมดอกไม้ ดอกหญ้านั่น! คลับคล้ายว่าเคยเห็น
แค่... ทักนะครับ
ส่วนมากเราจะไปหาภาพสวยๆจากเวปด้วยคะลำพังตัวเองคงไม่มีปัญญาถ่าย 😅😆
ครับผม ที่ทัก เพราะหากภาพไหนเอามา เราระบุว่า่มาจากไหน อาจพอทุเลา แต่ไม่ระบุ ไม่ให้เครดิต นั่นล่ะ ที่ทัก สตีมอิทเอง เขาก็มี จนท. ตรวจสอบอยู่นะ ขนาดก๊อปข้อความเขามา ยังโดนเตือน หรือ อะไร ประมาณ ธงแดง มั่ง มันจะมีผล No Vote ไรประมาณนี้ แต่...ทั้งนี้ก็แค่มุมมองหนึ่งครับ