ท่านเคยถามตัวเองไหมครับว่า หลายต่อหลายครั้ง ทำไมเราคิดได้ แต่ทำไม่ได้ ทำไมเราจึงคิดได้แต่ทำไม่ได้ นี่คือปัญหาที่ ผมคิดเป็นเวลานาน ทุกครั้งที่เราจะเปลี่ยนนิสัย จากนิสัยหนึ่งไปสู่อีกนิสัยหนึ่ง ที่ดีกว่า คำถามคือทำไมเราจึงทำไม่ได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ ให้เราขยันขึ้นให้เราตั้งใจทำงานมากขึ้น เป็นคนตรงต่อเวลา เป็นคนไม่พูดเพ้อเจ้อ เป็นคนมีระเบียบวินัย จบลงก็คือคิดได้ แต่ทำไม่ได้ มันเกิดอะไรขึ้นกับเรา มันจบลงด้วยความย่อท้อและท้อถอย หมดกำลังใจในชีวิต และอยู่ไปวันๆ
อย่างแรกคือ คุณไม่ได้อยากทำจริงๆ สิ่งนั้นมันไม่มีแรงจูงใจมากพอที่จะเข้าไปสู่จิต ใจของเรา เป็นความอยากลอยลอยเท่านั้น นั่นก็คือคุณไม่มีความอยากที่จะบรรลุ สิ่งดังกล่าว จริงๆ ยกตัวอย่างเช่นบางคนเป็นเบาหวาน อยากจะอดอาหารของหวาน หรือไม่อยากกินของทอด เพราะของทอด ทำให้เกิดไขมันในเส้นเลือดสูง และที่สำคัญถ้ากินของหวาน มาก โอกาสที่จะเป็นเบาหวานมาก สมมุติว่าถ้าเราไม่อยากกินของหวานไม่อยากกินของทอด แต่ปรากฏว่าก็จบลงด้วยการกินของหวานและกินของทอด เต็มไปหมดเลย เราไม่มีความที่จะอยากเลิกจริงๆ หรือไม่ต้องการที่จะควบคุม ความหวานหรือน้ำตาลในเส้นเลือดจริงๆ คือถ้าเราอยากจะลงมือทำจริงๆ เราจะมีการยับยั้งชั่งใจ
คือถ้าเป็นแค่ความอยากในระดับความคิดเป็นแค่แรงกระเพื่อม แต่มันไม่ลึกถึงจิตใจ ที่จะต้องการให้สิ่งนั้นเกิดการแปรเปลี่ยน การที่เราเพียงแต่คิดอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับความคิดนั้นด้วย ก็คือเราต้องพิจารณาถึง โทษของสิ่งสิ่งนั้นว่า มันเป็นสิ่งที่อันตรายมาก ถ้าหากเราทำสิ่งนั้นต่อไป ยกตัวอย่าง ถ้าหากเรามัวแต่ เล่น Facebook ดูประวัติ ของคนอื่นทั้งวันทั้งคืน เราจะเป็น Facebook Addict เราจะเสียเวลากับเรื่องไร้สาระ เราจะไม่มีสมาธิมากพอที่จะจดจ่อในงานหรือวางแผน เป้าหมายในชีวิตของเราได้
เราต้องมองเห็นโทษให้มันชัดก่อน นั่นหมายความว่า จริงๆ แล้วเราไม่ได้อยากจริงๆ ไม่ได้อยากที่จะเปลี่ยนนิสัยนั้นจริงๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่เห็นโทษของสิ่งนั้น คนๆ หนึ่งที่จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้จะต้องมองเห็นโทษ ของสิ่งที่ตนเองทำอยู่ก่อน โทษของการกินของหวาน เช่นน้ำอัดลม ซึ่งมีกระดาษน้ำตาลทราย 5 ช้อน เป็นต้น ผลที่ตามมาคือ ร่างกายเต็มไปด้วยของหวาน ระดับน้ำตาลสูงมาก จึงป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บ เพราะแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้นั้นในร่างกายจะต้องมีของหวานเยอะๆ
สรุปก็คือคนคนนั้นไม่เห็นโทษของพฤติกรรมที่ตนเองทำอยู่ จึงไม่สามารถที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้ เพราะถ้าหากว่าเราเห็นโทษ จริงๆ เราจะไม่กล้าที่จะทำ ก็คือว่าเราไม่ได้อยากทำสิ่งนั้นจริงๆ ไม่ต้องการที่จะบรรลุสิ่งนั้นจริงๆ เพราะเรามองไม่เห็นโทษของมัน เพราะเป็นแค่แรงกระเพื่อมของความคิดไม่ได้เป็นความคิดที่ตั้งใจจดจ่อ ฉะนั้นจึงไม่มีแรงยับยั้งเพียงพอ ที่จะไม่ทำสิ่งนั้นต่อไป
อย่างที่ 2 สมมุติถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจริงๆ ทำไมจึงเปลี่ยนไม่ได้ เพราะความกลุ้มใจของเรา ถ้าหากเรากลุ้มใจทั้งวันเครียดทั้งวัน กังวลว้าวุ่นกลุ้มใจทั้งวัน และย้ำคิดย้ำทำตลอด ผลที่ตามมาคือท่านคิดได้แต่ทำไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเราขาดสมาธิ จิตใจฟุ้งซ่านไม่สงบเราจะคิดอะไร ที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ อย่างเช่น
1 ความอยาก อยากมี อยากเป็น อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ ความอยากและไม่อยากว้าวุ่นตลอดเวลาจิตมันเครียด สมาธิไม่มี สิ่งที่เราคิดอยากจะทำมันก็ลืมไป เพราะมีของไร้สาระไม่เป็นประโยชน์เข้ามา
2 ความโกรธความเกลียดความอาฆาตพยาบาทเจ็บใจต่างๆ คิดแต่ว่าคนคนนั้นมันเอาเปรียบเรา คนๆนั้นมันด่าเรา คนคนนั้นทำกริยาไม่ดีต่อเรา คนๆนั้นหักหลังเรา คนๆนั้นแย่งความรักเรา ทำให้เราไม่มีความสุข เพราะความโกรธไม่สามารถชนะความโกรธได้ ต้องเป็นความรัก เป็นการให้อภัย ถึงจะชนะความโกรธได้ ดังนั้นเมื่อใดก็ตามที่ความโกรธครอบงำจิตใจเรา เราจึงไม่สามารถคิดสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ได้
3 ความเบื่อความเซ็งในชีวิต คิดว่าทำไปก็เท่านั้นอยู่ไปก็แค่นั้น คิดว่าไม่มีอะไรดีขึ้นมา เพราะความเบื่อหน่ายครอบงำเราอยู่ตลอดเวลาจึงไม่สามารถมีความคิดที่เป็นประโยชน์ได้
4 ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ คิดกังวล กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง และสิ่งที่ล่วงไปแล้วกังวลไปต่างๆ นานา
5 ความลังเลสงสัย ควรทำหรือไม่ควรที่จะทำดี
สิ่งเหล่านี้ เรียกว่านิวรณ์ 5 คือสิ่งที่เป็นอุปสรรค ต่อการที่จะรวมจิตให้มีพลัง ทำให้ขาดการประสบความสำเร็จ เพราะใจไม่มีพลัง ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ไม่มีความคิดที่เป็นประโยชน์มีแต่โทษ
อย่างที่ 3 เราทำไม่ได้ เพราะเราคิดไม่ละเอียด ถ้าหากเราจะบรรลุเป้าหมายอะไร เราตั้งเป้าแต่ยังไม่พอ เราจะต้องคิดแผน กลยุทธ์ คิดจนความคิดตกตะกอน เห็นว่าขั้นตอนต่างๆ นั้นควรทำอะไรบ้าง และเตรียม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คืออะไร ปัจจัยแห่งความล้มเหลวคืออะไร ปัจจัยแห่งความสำเร็จต้องทำอะไรบ้าง จึงจะบรรลุถึงสิ่งนั้น หลวงพ่อโต กล่าวว่า “พิจารณา มหาพิจารณา พิจารณาจนสุดปัญญา” เราจะต้องพิจารณาอย่างชัดเจนว่า มีสิ่งใดบ้างที่จะต้องทำ เรียกว่า คิดจนความคิดตกตะกอน
คนส่วนใหญ่คิดฉาบฉวย บางคนก็มองโลกในแง่ดีเกินไป แต่คิดละเอียดไม่พอ ว่าโอกาสที่จะไม่สำเร็จได้แก่อะไรบ้าง และจะมีปัจจัยต่างๆ แก้ปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ คือ คิดเตรียมไว้ก่อน เมื่อเรารู้ล่วงหน้าเราก็สามารถที่จะป้องกันได้ ถ้าปัญหาจะเกิดขึ้นได้แก่อะไร ทำรายการออกมาเลย และเราสามารถที่จะแก้ไขปัญหาล่วงหน้าได้อย่างไร เราต้องมีแผนสำรองตลอดเวลา
อย่างที่ 4 เราคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ลึก ๆ แล้วเรามีความคิดที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกว่าเราทำไม่ได้ เราคิดว่าฉันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เขาบอกว่าคนที่เกิดมาจะจนก็คิดว่าตัวเองต้องจนชั่วชีวิต คนที่เกิดมาจะโง ก็คิดว่าตัวเองนั้นโง่จริงๆ เราไม่มีทางที่จะฉลาดขึ้น “you are what you think” คิดสิ่งใดก็สมปรารถนา สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก คิดสิ่งใดก็เป็นอย่างนั้น ฉะนั้น ต้องระมัดระวังมาก
มนุษย์ส่วนใหญ่เป็นปัญหาอย่างนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดในโลกคือการรู้เท่าทันความคิดตัวเองและการควบคุมความคิด คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองคิดอะไรหน้าตาเหม่อลอย เหมือนกับหุ่นยนต์เพราะเนื่องจากใจลอย ทำไมใจลอยเพราะว่าขาดสติความรู้สึกตัว มีแต่ความทุกข์สุ่มอยู่ในใจตลอดเวลา ที่น่ากลัวก็คือคิดว่าตัวเองทำสิ่งนั้นไม่ได้ ตัวเองเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ตัวเองดีขึ้นไม่ได้ ตัวเองจะประสบความสำเร็จไม่ได้ เขาเรียกว่าเป็นกลไกที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุดแต่เนื่องจากฉลาดมาก ธรรมชาติเลยสร้างให้มีกลไกในการทำลายตัวของมันเอง มนุษย์ทำลายตัวเองเพราะมนุษย์คิดติดลบ่
เขียนดีค่ะแต่น่าจะมีรูปเพิ่มสักหน่อย😊