สรุปสาระสำคัญ
คณะวิจัยจากสถาบันดนตรีแห่งเบอร์ลินเผยผลการวิจัยเคล็ดลับการเป็นอัจฉริยะ โดยการพยายามพากเพียรและฝึกฝนทำในสิ่งนั้นให้ได้อย่างน้อย 10,000 ชั่วโมง สมองจึงสามารถพัฒนาให้เป็นคนอัจฉริยะได้ โดยคณะวิจัยได้ทำการวิจัยจากกลุ่มนักเรียนไวโอลินของโรงเรียนที่ฝึกฝนมาต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี พบว่านักเรียนที่มีฝีมือระดับอัจฉริยะ ใช้เวลาในการฝึกฝน 10,000 ชั่วโมงขึ้นไป ในขณะที่กลุ่มนักเรียนที่มีฝีมือระดับดีรองลงมาใช้เวลาในการฝึกฝนได้เพียง 8000 ชั่วโมง ซึ่งน้อยกว่านักรียนในกลุ่มแรก ผลการวิจัยดังกล่าวจึงเป็นการค้นพบที่ตรงกับสิ่งที่ โทมัส เอวา เอดิสัน นักวิทยาศาสตร์ของโลกได้เคยกล่าวไว้ว่า “ความสำเร้จของการประดิษฐ์สิ่งต่างๆนั้นเพียง 1 เปอร์เซ็นต์มาจากแรงบันดาลใจ ส่วนอีก 99 เปอร์เซ็นต์มาจากการที่มีความเพียรพยายาม”
พ่อแม่ที่ปรารถนาให้ลูกเติบโตมาเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต คุณลักษณะแห่งความพากเพียรจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควรปลูกฝังให้แก่ลูก โดยพ่อแม่สามารถสร้างพลังแห่งความพากเพียรให้เกิดขึ้นในชีวิตของลูกโดยเริ่มจาก
1.ฝึกลูกให้มองสายตาจับจ้องเป้าหมาย
2.ปลูกฝังทัศนคติมุมมองเชิงบวกแก่ลูก
3.ฝึกให้ลูกเรียนรู้จากความล้มเหลวอย่างมีสติปัญญา
4.เป็นแบบอย่างในความพยายามให้ลูกได้เห็น
5.ฝึกฝนให้ชีวิตลูกอยู่ในความพากเพียร
ข้อคิดที่ได้
ความอดทนพากเพียร ความพยายามฝึกฝนอยู่สม่ำเสมอและทุ่มเทกับการกระทำในสิ่งนั้น เป็นลักษณะชีวิตสำคัญที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งตรงข้ามกับบุคคลที่ประสบแต่ความล้มเหลว เนื่องจากเขาไม่มีความอดทน พากเพียร ขาดความพยายามในการกระทำสิ่งนั้นๆ
การนำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน
กระตุ้นให้ตัวเองฝึกฝนชีวิตแห่งความพากเพียร ขยัน อดทน และหมั่นฝึกซ้อมในสิ่งที่ตัวเองชอบ แม้ว่าในความพยายามจะต้องประสบกับอุปสรรคมากมายแค่ไหน และหากแม้วันนี้จะต้องเหนื่อยยากลำบากแค่ไหน แต่เมื่อไหร่ที่ถึงเส้นชัย ความภาคภุมิใจจะเกิดขึ้นพร้อมกับความสุขที่ได้ประสบความสำเร็จ
ข้อความที่ประทับใจ/ข้อคิดเห็นของนักเรียน
คนบางคนอาจมีความสามารถมาก มีพรสวรรค์ที่ยิ่งใหญ่ มีศักยภาพซ่อนอยู่มากมาย แต่ทว่าไปเขาไม่สามารถประสบความสำเร็จตามที่ควร เนื่องจากขาดความอดทนพากเพียร เมื่อเผชิญกับอุปสรรคหรือปัญหาที่ยากลำบาก มักถอยหนี เลิกราทันทีโดยไม่ทันที่จะพัฒนาหรือแสดงศักยภาพที่มีอยู่เพื่อก้าวไปสุ่ความสำเร็จ
บันทึกการอ่าน
ประเภทของสื่อ คือ บทความ
ครั้งที่ 2 วันที่ 6 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2553
ผู้แต่ง ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
สำนักพิมพ์ พิมพ์ดี บจก. ปีที่พิมพ์ 2534